About IEA





About IEA
Get to Know IEA
สมาคมการศึกษานานาชาติได้จัดตั้งขึ้นภายใต้การรวมกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนประเภทนานาชาติซึ่งเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่
Join Our Network
We will Build a Strong Community Together
- ขับเคลื่อนภารกิจของสมาคมให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
- ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการศึกษานานาชาติ
- เป็นองค์กรนำในการประสานความร่วมือ การพัฒนา และแก้ไขปัญหาที่เหี่ยวข้องกับโรงเรียนนานาชาติ
- ประชุมสัมมนาวิชาการการศึกษานานาชาติ 1-2 ครั้งต่อปี
- การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับผิดชอบต่อสังคม และส่งเสริมภาพลักษณ์ของโรงเรียนนานาชาติ
- มีระบบฐานข้อมูลวิชาการ การจัดการความรู้ มาตรฐานการศึกษานานาชาติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- บุคลากร สถาบันการศึกษาซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมได้รับการเตรียมความพร้อม ในการประเมินคุณภาพการศึกษานานาชาติ
- มีการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษา กองทุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสมาชิกที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษานานาชาติ
- มีข้อเสนอเชิงนโยบาย การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติทางราชการที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษานานาชาติ
- องค์กร ( สมาคม ) มีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติร่วมกับเครือข่าย
- พัฒนาระบบการจัดการศึกษานานาชาติของประเทศไทยให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสมาชิกของสมาคม ผู้บริหาร ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษานานาชาติทุกระดับ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารและการจัดการศึกษานานาชาติ
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษานานาชาติทุกระดับ ทุกประเภท และทุกรูปแบบกับสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศและขับเคลื่อนเครือข่ายการศึกษานานาชาติในประเทศสู่การเป็นสมาชิกองค์กรทางการศึกษาในระดับสากล
- เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน นักศึกษาตลอดจนการสรรหาพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
- เป็นองค์กรที่ปรึกษา จัดการฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพการศึกษานานาชาติให้ได้มาตรฐานสากล
- จัดตั้งและบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการครูอาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษา
- ส่งเสริม ผลักดันการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย ระเบียบและแนวปฏิบัติทางราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ทันสมัยและเอื้อต่อการจัดการศึกษานานาชาติในทุกระดับ ทุกประเภทและทุกรูปแบบ
ข้อบังคับของสมาคมการศึกษานานาชาติ
Regulations of the International Education Association
ข้อ ๑ สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมการศึกษานานาชาติ” ย่อว่า “สศน” ชื่อภาษาอังกฤษว่า “International Education Association” ย่อว่า “IEA”
ข้อ ๒ เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นรูปลูกโลกและหมวกรับปริญญาหมายถึงการศึกษานานาชาติ ส่วนรูปการจับมือกันหมายถึงความร่วมมือกัน เมื่อรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันมีความหมายว่าเป็นสมาคมที่ส่งเสริมความร่วมมือกันในการศึกษานานาชาติ ดังรูปนี้
ข้อ ๓ สานักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๐๑/๑ ซอยอุดมสุข ถนนเทศบาลดาริ ตาบลดงพระราม อาเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
๔.๑ พัฒนาระบบการจัดการศึกษานานาชาติของประเทศไทยให้มีคุณภาพเทียบเท่าได้กับมาตรฐานสากล
๔.๒ ส่งเสริม ผลักดันการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย ระเบียบและแนวปฏิบัติทางราชการที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยและเอื้อต่อการจัดการศึกษานานาชาติในทุกระดับ ทุกประเภทและทุกรูปแบบ
๔.๓ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสมาชิกของสมาคม ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษานานาชาติทุกระดับ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการบริหารและการจัดการศึกษานานาชาติ
๔.๔ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษานานาชาติทุกระดับ ทุกประเภท และทุกรูปแบบการศึกษากับสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
๔.๕ ขับเคลื่อนเครือข่ายการศึกษานานาชาติในประเทศสู่การเป็นสมาชิกองค์กรทางการศึกษาในระดับสากล
๔.๖ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน-นักศึกษา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการสรรหาครู ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
๔.๗ เป็นองค์กรที่ปรึกษา จัดการฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพการศึกษานานาชาติให้ได้มาตรฐานสากล
๔.๘ จัดตั้งและบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการครู อาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษา
ข้อ ๕ สมาชิกของสมาคมมี ๓ ประเภท คือ
๕.๑ สมาชิกสามัญได้แก่บุคคลผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนี้ หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญซึ่งได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการสมาคม
๕.๒ สมาชิกวิสามัญได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคล โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนเอกชนทุกประเภท โรงเรียนอาชีวะ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย องค์กรทางการศึกษาทุกประเภท และโรงเรียนในระบบและนอกระบบอื่น ๆ
๕.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษา หรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคมซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ ๖ สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
๖.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย
๖.๒ เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
๖.๓ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
๖.๔ ไม่ต้องคาพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือน ไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจาคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ การต้องคาพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น
ข้อ ๗ ค่าลงทะเบียน และค่าบารุงสมาคม
๗.๑ สมาชิกสามัญ จะต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นค่าแรกเข้า จานวน ๕,๐๐๐ บาท และค่ารายปี ปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท
๗.๒ สมาชิกวิสามัญ จะต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นค่าแรกเข้า จานวน ๑,๐๐๐ บาท และค่ารายปี ปีละ ๑,๐๐๐ บาท
๗.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์ มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบารุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อ ๘ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย ๑ คน และให้เลขานุการ ติดประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สานักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน เพื่อให้สมาชิกอื่น ๆ ของสมาคม ได้คัดค้านการสมัครนั้น เมื่อครบกาหนดประกาศแล้วก็ให้เลขานุการนาใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้ว ผลเป็นประการใดให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว
ข้อ ๙ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกก็ให้ผู้สมัครนั้นชาระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบารุงสมาคม ให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ และสมาชิกภาพของผู้สมัคร ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชาระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบารุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชาระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบารุงภายในกาหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก
ข้อ ๑๐ สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคาเชิญของผู้ที่คณะกรรมการ ได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ได้มาถึงยังสมาคม
ข้อ ๑๑ สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
๑๑.๑ ตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคล
๑๑.๒ ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชาระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย
๑๑.๓ ขาดคุณสมบัติสมาชิก
๑๑.๔ ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินาความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
ข้อ ๑๒ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
๑๒.๑ มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
๑๒.๒ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดาเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
๑๒.๓ มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๒.๔ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
๑๒.๕ สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้คนละ ๑ คะแนนเสียง
๑๒.๖ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
๑๒.๗ มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
๑๒.๘ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
๑๒.๙ มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
๑๒.๑๐ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดาเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคม
๑๒.๑๑ มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๒.๑๒ มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
ข้อ ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทาหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมมีจานวนอย่างน้อย ๕ คนอย่างมากไม่เกิน ๑๐ คน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ เลือกกันเองเป็นนายกสมาคม ๑ คน และ อุปนายก ๑ คน สาหรับกรรมการในตาแหน่งอื่น ๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับเลือก จากที่ประชุมใหญ่เข้าดารงตาแหน่งต่าง ๆ ของสมาคมตามที่ได้กาหนดไว้ ซึ่งตาแหน่งของกรรมการสมาคม มีตาแหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังต่อไปนี้
๑๓.๑ นายกสมาคม ทาหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทาหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
๑๓.๒ อุปนายก ทาหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคมปฏิบัติตามหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทาหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทาหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลาดับตาแหน่งเป็นผู้กระทาการแทน
๑๓.๓ เลขานุการ ทาหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตามคาสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทาหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของสมาคม
๑๓.๔ เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทาบัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
๑๓.๔ ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
๑๓.๕ นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงาน กับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบารุงสมาคมจากสมาชิก
๑๓.๖ ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
๑๓.๗ กรรมการตาแหน่งอื่น ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกาหนดให้มีขึ้น โดยมีจานวนเมื่อรวมกับตาแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจานวนที่ข้อบังคับได้กาหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กาหนดตาแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตาแหน่งได้คราวละ ๔ ปี นับตั้งแต่ได้รับการจดทะเบียนและเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตาแหน่งครบกาหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับจดทะเบียนจากทางราชการ ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกาหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับจดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทาการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้น ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดให้ได้รับจดทะเบียนจากทางราชการ
ข้อ ๑๕ ตาแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกาหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดารงตาแหน่งแทนตาแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดารงตาแหน่งแทนอยู่ในตาแหน่งได้เท่ากับ วาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น และถ้าเป็นตาแหน่งนายกสมาคมว่างก็ให้คณะกรรมการเลือกกันเองเป็นนายกสมาคม
ข้อ ๑๖ กรรมการอาจจะพ้นจากตาแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ
๑๖.๑ ตาย
๑๖.๒ ลาออก
๑๖.๓ ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับและตามที่กฎหมายได้กาหนดไว้
๑๖.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตาแหน่ง
๑๖.๕ เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียและคณะกรรมการสมาคมมีมติให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของคณะกรรมการของสมาคม
ข้อ ๑๗ กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตาแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการและคณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ ๑๘ อานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
๑๘.๑ มีอานาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อ ข้อบังคับฉบับนี้
๑๘.๒ มีอานาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
๑๘.๓ มีอานาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตาแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
๑๘.๔ มีอานาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจาปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๘.๕ มีอานาจแต่งตั้งกรรมการในตาแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กาหนดไว้ในข้อบังคับนี้
๑๘.๖ มีอานาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอานาจอื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กาหนดไว้
๑๘.๗ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
๑๘.๘ มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญ จานวน ๑ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
๑๘.๙ มีหน้าที่จัดทาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
๑๘.๑๐ จัดทาบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ
๑๘.๑๑ มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กาหนดไว้
ข้อ ๑๙ คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยไตรมาสละ ๑ ครั้ง ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม โดยอาจจัดการประชุมแบบออนไลน์ได้
ข้อ ๒๐ การประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กาหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๑ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทาหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
ข้อ ๒๒ การประชุมใหญ่ของสมาคมมี ๒ ชนิด คือ
๒๒.๑ การประชุมใหญ่สามัญ
๒๒.๒ การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๓ คณะกรรมการจะต้องจัดให้การประชุมใหญ่สามัญประจาปี ๆ ละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนมีนาคมของทุก ๆ ปี
ข้อ ๒๔ การประชุมใหญ่วิสามัญอาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้นหรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกจานวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจานวนสมาชิกทั้งหมด ทาหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามวรรคแรกให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคาขอ ถ้าคณะกรรมการของสมาคมไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสอง สมาชิกที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจานวนไม่น้อยกว่าจานวนสมาชิกที่กาหนดตามวรรคแรกจะเรียกประชุมเองก็ได้
ข้อ ๒๕ การแจ้งกาหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกาหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลาและสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศแจ้งกาหนดนัดประชุมไว้ ณ สานักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนถึงกาหนดประชุมใหญ่หรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วันก็ได้
ข้อ ๒๖ การประชุมใหญ่สามัญประจาปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๒๖.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
๒๖.๒ แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
๒๖.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกาหนดวาระ
๒๖.๔ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
๒๖.๕ ตรวจสอบทะเบียนสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน
๒๖.๖ เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี
ข้อ ๒๗ การประชุมใหญ่สามัญประจาปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะครบองค์ประชุม หากถึงกาหนดเวลาการประชุมแล้วสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่ครั้งนั้นเป็นการประชุมใหญ่ตามคาเรียกร้องของสมาชิกก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นกรณีการประชุมใหญ่ที่คณะกรรมการสมาคมเป็นผู้เรียกประชุม ก็ให้เรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วัน นับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรกการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
ข้อ ๒๘ การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กาหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๙ ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทาการเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทาหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
ข้อ ๓๐ การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้นาฝากไว้ในธนาคารที่สมาคมจะเปิดบัญชีขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งสมาคม
ข้อ ๓๑ การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทาการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขานุการ จึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ ๓๒ ให้นายกสมาคมมีอานาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการ
ข้อ ๓๓ ให้เหรัญญิกมีอานาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจานวนนี้ จะต้องนาฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอานวยให้
ข้อ ๓๔ เหรัญญิก จะต้องทาบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทาการแทนร่วมกับเหรัญญิก หรือผู้ทาการแทน พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ ๓๕ ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ ๓๖ ผู้สอบบัญชี มีอานาจที่จะเรียกเอกสารเกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถจะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อ ๓๗ คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ ๓๘ ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ ๓๙ การเลิกสมาคมจะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมายมติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด
ข้อ ๔๐ เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชาระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของ “มูลนิธิกระจกเงา”
ข้อ ๔๑ การตีความข้อบังคับของสมาคม หากเป็นที่สงสัยให้ที่ประชุมใหญ่โดยเสียงข้างมากของที่ประชุมชี้ขาด
ข้อ ๔๒ ให้นาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคมมาใช้บังคับ เมื่อข้อบังคับของสมาคมมิได้กาหนดไว้ และหากมีข้อบังคับใดขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๔๓ สมาคมต้องไม่ดาเนินการหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน หรือเพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดาเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมเอง
ข้อ ๔๔ ข้อบังคับฉบับนี้ ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป
ข้อ ๔๕ เมื่อสมาคมได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมด เป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกภาพของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เริ่มตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป
Join the Fight for Our International Education Network
Help us Bring the Change we Need.
We’re here to change how international education network is made